Member Login

อีเมล์
รหัสผ่าน
ลืมรหัสผ่าน
สมัครสมาชิก

 

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
ผู้ชม
วันนี้ 227
เมื่อวาน 447
ทั้งหมด 1,922,627
ชมหน้าอื่นๆ
วันนี้ 231
เมื่อวาน 471
ทั้งหมด 2,191,986
    ปรึกษากฎหมาย -->การฟ้องศาลปกครอง
 เจ้าของกระทู้  หัวเรื่อง

 จินตนา
หัวเรื่อง : การฟ้องศาลปกครอง
เวลาตอบกระทู้ : 6/4/2014 4:33:21 PM
 
 
สำนักงานคลังแห่งหนึ่งมีการยักยอกเงินคงคลังจำนวนหนึ่ง เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2556 กรมบัญชีกลาง ได้มีแจ้งให้ข้าพเจ้าชดใช้ค่าสินไหมทดแทนความผิดทางละเมิด โดยคณะกรรมการตรวจสอบความรับผิดทางละเมิดมีความเห็นว่า ขณะที่ข้าพเจ้าปฏิบัติหน้าที่เป็นคณะกรรมการคลังนอกที่สำนักงานคลัง ได้กระทำโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ทำให้กรมบัญชีกลางเกิดความเสียหาย และให้ชดใช้ความเสียหายแก่กรมบัญชีกลางเป็นจำนวนเงินที่ขาดหายไป ข้าพเจ้าได้อุทธรณ์คำสั่งให้รับผิดชดใช้ค่าเสียหายแล้วเมื่อ 26 ธันวาคม 2556 ต่อมา เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2557 กรมบัญชีกลางได้มีหนังสือแจ้งความเห็นการพิจารณาคำสั่งอุทธรณ์ให้ข้าพเจ้าทราบว่า กรมบัญชีกลางในฐานะผู้ทำคำสั่งเรียกให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ยืนตามความเห็นของกระทรวงการคลัง และเห็นควรยกอุทธรณ์ ของข้าพเจ้า กรมบัญชีกลางได้รายงานความเห็นการพิจารณาอุทธรณ์ให้ปลัดกระทรวงการคลังซึ่งเป็นผู้มีอำนาจพิจารณาอุทธรณ์พิจารณา หากผลการพิจารณาของปลัดกระทรวงการคลังเป็นประการใด ข้าพเจ้ามีสิทธิฟ้องยังศาลปกครองภายใน 60 วัน นับแต่วันทราบผลการพิจารณาอุทธรณ์ดังกล่าว เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2557 ข้าพเจ้าได้รับหนังสือจากกรมบัญชีกลาง ให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ภายใน 15 วัน นับตั้งแต่ได้รับหนังสือนี้ โดยที่ข้าพเจ้ายังไม่ทราบผลการพิจารณาอุทธรณ์ของปลัดกระทรวงการคลังแต่อย่างใด ข้าพเจ้าได้มีหนังสือปฏิเสธให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนไปยังอธิบดีกรมบัญชีกลาง เพื่อใช้สิทธิฟ้องไปยังศาลปกครองก่อน จึงเรียนมาเพื่อขอคำแนะนำดังนี้ 1. ทางกระทรวงการคลังมีกรอบระยะเวลาในการพิจารณาอุทธรณ์ของข้าพเจ้ากี่วัน 2. หากพ้นกำหนดระยะเวลาแล้ว ทางกระทรวงการคลังยังไม่แจ้งผลการพิจารณา จะถือว่ารับอุทธรณ์ของข้าพเจ้าหรือไม่. 3. ข้าพเจ้าสามารถยื่นฟ้องต่อศาลปกครองได้โดยไม่ต้องรอผลการพิจารณาของปลัดกระทรวงการคลัง หรือไม่ ขอขอบพระคุณอย่างสูง
 
 มโนธรรม หัวเรื่อง : การฟ้องศาลปกครอง
เวลาตอบล่าสุด : 6/5/2014 9:56:29 AM
 
 
ควรรอฟังคำวินิจฉัยของกระทรวงการคลังก่อน จะฟ้องศาลปกครอง.... พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 มาตรา 44 ภายใต้บังคับมาตรา 48 ในกรณีที่คำสั่งทางปกครองใดไม่ได้ออกโดยรัฐมนตรี และไม่มีกฎหมายกำหนดขั้นตอนอุทธรณ์ภายในฝ่ายปกครองไว้เป็นการเฉพาะ ให้คู่กรณีอุทธรณ์คำสั่งทางปกครองนั้นโดยยื่นต่อเจ้าหน้าที่ผู้ทำคำสั่งทางปกครองภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ตนได้รับแจ้งคำสั่งดังกล่าว คำอุทธรณ์ต้องทำเป็นหนังสือโดยระบุข้อโต้แย้งและข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่อ้างอิงประกอบด้วย การอุทธรณ์ไม่เป็นเหตุให้ทุเลาการบังคับตามคำสั่งทางปกครอง เว้นแต่จะมีการสั่งให้ทุเลาการบังคับตามมาตรา 56 วรรคหนึ่ง มาตรา 45 ให้เจ้าหน้าที่ตามมาตรา 44 วรรคหนึ่ง พิจารณาคำอุทธรณ์และแจ้งผู้อุทธรณ์โดยไม่ชักช้า แต่ต้องไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์ ในกรณีที่เห็นด้วยกับคำอุทธรณ์ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนก็ให้ดำเนินการเปลี่ยนแปลงคำสั่งทางปกครองตามความเห็นของตนภายในกำหนดเวลาดังกล่าวด้วย ถ้าเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 44 วรรคหนึ่ง ไม่เห็นด้วยกับคำอุทธรณ์ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนก็ให้เร่งรายงานความเห็นพร้อมเหตุผลไปยังผู้มีอำนาจพิจารณาคำอุทธรณ์ภายในกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้มีอำนาจพิจารณาคำอุทธรณ์พิจารณาให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ตนได้รับรายงาน ถ้ามีเหตุจำเป็นไม่อาจพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาดังกล่าว ให้ผู้มีอำนาจพิจารณาอุทธรณ์มีหนังสือแจ้งให้ผู้อุทธรณ์ทราบก่อนครบกำหนดเวลาดังกล่าว ในการนี้ ให้ขยายระยะเวลาพิจารณาอุทธรณ์ออกไปได้ไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันที่ครบกำหนดเวลาดังกล่าว เจ้าหน้าที่ผู้ใดจะเป็นผู้มีอำนาจพิจารณาอุทธรณ์ตามวรรคสองให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง บทบัญญัติมาตรานี้ไม่ใช้กับกรณีที่มีกฎหมายเฉพาะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น มาตรา 46 ในการพิจารณาอุทธรณ์ ให้เจ้าหน้าที่พิจารณาทบทวนคำสั่งทางปกครองได้ไม่ว่าจะเป็นปัญหาข้อเท็จจริง ข้อกฎหมาย หรือความเหมาะสมของการทำคำสั่งทางปกครอง และอาจมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งทางปกครองเดิมหรือเปลี่ยนแปลงคำสั่งนั้นไปในทางใด ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มภาระหรือลดภาระหรือใช้ดุลพินิจแทนในเรื่องความเหมาะสมของการทำคำสั่งทางปกครองหรือมีข้อกำหนดเป็นเงื่อนไขอย่างไรก็ได้ [3] กฎกระทรวง ฉบับที่ 4 (พ.ศ.2540) ออกตามความในพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 [4] ข้อ 17 เมื่อผู้แต่งตั้งได้รับผลการพิจารณาของคณะกรรมการแล้วให้วินิจฉัยสั่งการว่ามีผู้รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือไม่ และเป็นจำนวนเท่าใดแต่ยังมิต้องแจ้งการสั่งการให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ ให้ผู้แต่งตั้งส่งสำนวนภายในเจ็ดวันนับแต่วันวินิจฉัยสั่งการให้กระทรวงการคลังเพื่อตรวจสอบ เว้นแต่เป็นเรื่องที่กระทรวงการคลังประกาศกำหนดว่าไม่ต้องรายงานให้กระทรวงการคลังตรวจสอบ ให้กระทรวงการคลังพิจารณาโดยไม่ชักช้า และให้มีอำนาจตรวจสอบพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ในกรณีที่เห็นสมควรจะให้บุคคลใดส่งพยานหลักฐานหรือมาให้ถ้อยคำเพื่อประกอบการพิจารณาเพิ่มเติมอีกก็ได้ ในระหว่างการพิจารณาของกระทรวงการคลัง ให้ผู้แต่งตั้งสั่งการให้ตระเตรียมเรื่องให้พร้อมสำหรับการออกคำสั่งให้เจ้าหน้าที่ชำระค่าสินไหมทดแทนหรือดำเนินการฟ้องคดีเพื่อมิให้ขาดอายุความสองปีนับจากวันที่ผู้แต่งตั้งวินิจฉัยสั่งการ ให้กระทรวงการคลังพิจารณาให้แล้วเสร็จก่อนอายุความสองปีสิ้นสุดไม่น้อยกว่าหกเดือน ถ้ากระทรวงการคลังไม่แจ้งผลการตรวจสอบให้ทราบภายในกำหนดเวลาดังกล่าว ให้ผู้แต่งตั้งมีคำสั่งตามที่เห็นสมควรและแจ้งให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ เว้นแต่ในกรณีหน่วยงานของรัฐนั้นเป็นราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ ที่จัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกา หรือหน่วยงานอื่นของรัฐตามกฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ ให้กระทรวงการคลังพิจารณาให้แล้วเสร็จก่อนอายุความสองปีสิ้นสุดไม่น้อยกว่าหนึ่งปี ถ้ากระทรวงการคลังไม่แจ้งผลการตรวจสอบให้ทราบภายในกำหนดเวลาดังกล่าว ให้ผู้แต่งตั้งมีคำสั่งตามที่เห็นสมควรและแจ้งให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ
 
Page 1

www.lawyerhiso.com
เบอร์โทรศัพท์ติดต่อได้   080 - 4777-772, 093-545-5583
E-mail : lawyer_hiso@hotmail.com

 

เว็บสำเร็จรูป
×